รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย
หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้
เนื้อหา: | บนสุด - 0-9 ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ฦ ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ |
---|
ก
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ก็ | ก้อ | |
กงเกวียนกำเกวียน | กงกำกงเกวียน | กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน |
กงสุล | กงศุล | "กงสุล" มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า "consul" |
กฎ | กฏ | กฎ ทุกอย่าง ใช้ ฎ ชฎา ยกเว้น ปรากฏ ใช้ ฏ ปฏัก ส่วน กรกฎ/กรกฏ สะกดได้ทั้งสองแบบ |
กบฏ | กบฎ, กบถ | - "กบฏ" ใช้ ฏ ปฏัก - ในสมัยโบราณ เคยสะกดด้วย ฎ ชฎา (ดู พจนานุกรมกฎหมาย ของ ขุนสมาหารหิตะคดี) - ถ้าออกเสียง "ขะ-บด" เขียน "ขบถ" |
กบาล, กระบาล | กะบาล, -บาน | ใช้เรียกศีรษะ แต่เป็นคำไม่สุภาพ |
กรรมกร | กรรมกรณ์ | - "กรรมกร" = คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน - "กรรมกรณ์" = อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ฯลฯ |
กรรมกรณ์ | กรรมกร | - "กรรมกร" = คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน - "กรรมกรณ์" = อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ฯลฯ |
กระเพาะ | กะเพาะ, กะเพราะ, กระเพราะ | ระวังสับสนกับ กะเพรา |
กริยา | กิริยา | "กริยา" (กฺริ-) คือ คำชนิดหนึ่ง บอกอาการ การกระทำ เช่น เดิน วิ่ง เขียน เหล่านี้ คือ คำกริยา |
กรีฑา | กรีธา, กรีทา | กีฬาประเภทหนึ่ง |
กรีธา | กรีฑา | เคลื่อน ยก เดินเป็นหมู่หรือเป็นกระบวน เช่น กรีธาทัพ |
กลยุทธ์ | กลยุทธ, กลยุทธิ, กลยุทธิ์ | |
กลางคัน | กลางครัน | |
กลิ่นอาย | กลิ่นไอ | |
กสิณ | กสิน | |
กเฬวราก | กเลวราก | |
กอปร | กอป, กอปร์ | อ่านว่า "กอบ" |
กอล์ฟ | กลอฟ, กอลฟ์, ก็อลฟ์, ก็อล์ฟ, ก๊อลฟ์, ก๊อล์ฟ | |
กะทันหัน | กระทันหัน | |
กะเทย | กระเทย | |
กะเทาะ | กระเทาะ | |
กะบังลม | กระบังลม | |
กะปิ | กระปิ | |
กะพง | กระพง | |
กะพริบ | กระพริบ | |
กะพรุน | กระพรุน | |
กะเพรา | กะเพา, กระเพา, กระเพรา | ระวังสับสนกับ กระเพาะ |
กะล่อน | กระล่อน | |
กะละมัง | กาละมัง | |
กะลาสี | กลาสี | |
กะละแม | กาละแม, กาลาแม, กาละแมร์ | |
กะหรี่ | กระหรี่ | |
กะเหรี่ยง | กระเหรี่ยง | |
กะหล่ำ | กระหล่ำ | |
กะโหลก | กระโหลก | จำไว้ว่า กะโหลก กะลา |
กังวาน | กังวาล | |
กันทรลักษ์ | กันทรลักษณ์, กัณ- | |
กันแสง | กรรแสง, กรรณแสง | |
กาลเทศะ | กาละเทศะ | |
กาลเวลา | กาฬเวลา | กาล หมายถึง เวลา , กาฬ แปลว่า รอยดำ หรือ แดง |
กาฬสินธุ์ | กาฬสินธ์, กาล- | |
กำเหน็จ | กำเน็จ, กำเหน็ด | |
กิตติมศักดิ์ | กิติมศักดิ์, เกียรติมศักดิ์ | |
กินรี | กินนรี | แต่ "กิน-นอน" เขียน 'กินนร' |
กิริยา | กริยา | "กิริยา" คือ อาการ การกระทำ เช่น ปฏิกิริยา |
กุฎี, กุฏิ | กุฎ, กุฎิ | "กุฏิ" อ่านว่า "กุด" หรือ "กุด-ติ" , ถ้าต้องการอ่าน "กุ-ดี" ต้องเขียน "กุฎี" (ใช้คำไหนก็ได้) |
กู | กรู | คำสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง |
เกม | เกมส์ | ในภาษาไทยสำหรับกรณีทั่วไปจะไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบคำใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าสื่อความหมายถึงเอกพจน์หรือพหูพจน์ เว้นแต่เป็นการทับศัพท์วิสามานยนาม เช่น "SEA Games" ว่า ซีเกมส์ |
เกล็ดเลือด | เกร็ดเลือด | |
เกษียณ | เกษียน, เกษียร | เกษียณ = สิ้นไป เช่นเกษียณอายุ; เกษียน = เขียน; เกษียร = น้ำนม |
เกสร | เกษร | ส่วนในของดอกไม้ |
เกาต์ | เก๊าท์ | |
เกียรติ | เกียตร, เกียรต, เกียรต์, เกียรติ์ | อ่านว่า "เกียด", ถ้าเขียน "เกียรติ์" อ่านว่า "เกียน" เช่น รามเกียรติ์ |
แก๊ง | แก๊งค์, แก๊งก์ | "แก๊ง" มาจากภาษาอังกฤษว่า "gang" ในภาษาไทยเป็นภาษาปาก หมายความว่า "กลุ่มคนที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ในความหมายไม่ดี) เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล" |
แกร็น | แกน, แกรน | ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช), เช่น แคระแกร็น |
ข
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ขบถ | ขบฏ | ดู กบฏ |
ขโมย | โขมย | |
ขวาน | ขวาญ | |
ขะมักเขม้น | ขมักเขม้น | |
ขัณฑสกร | ขัณท-, ขันท-, ขันฑ- | |
ขาดดุล | ขาดดุลย์ | ดู "ดุล", "สมดุล" |
ข้าวเหนียวมูน | ข้าวเหนียวมูล | มูน = เอากะทิเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้มัน |
ขี้เกียจ | ขี้เกลียด, ขี้เกียด | |
ขึ้นฉ่าย | คึ่น-, -ช่าย, -ไฉ่, -ไช่ | |
เขยก | ขเยก, ขะเหยก | |
ไข่มุก | ไข่มุกข์, ไข่มุกด์, ไข่มุข |
ฃ
ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ "ฃ" โดยหันไปใช้ "ข" แทน เช่น "ฃวด" ก็ใช้เป็น "ขวด" เป็นต้น
ค
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
คทา | คฑา, คธา | |
คน | ฅน | ฅ ไม่เคยใช้เขียนคำว่า ฅน |
ครรไล | ครรลัย | |
ครองราชย์ | ครองราช | คำว่า "ราชย์" หมายถึง ความเป็นราชา, "ครองราชย์" จึงหมายถึง ครองความเป็นราชา ทั้งนี้ คำว่า "ครองราชสมบัติ" หมายความว่า ครองสมบัติของพระราชา ก็คือ ครองความเป็นราชา (มิใช่ "ครองราชยสมบัติ" อันแปลว่า ครองสมบัติแห่งความเป็นพระราชา) |
คริสตกาล | คริสต์กาล | ใช้ตามโบราณ |
คริสตจักร | คริสต์จักร | ใช้ตามโบราณ |
คริสต์ทศวรรษ | คริสตทศวรรษ | ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา |
คริสต์ศตวรรษ | คริสตศตวรรษ | ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา |
คริสต์ศักราช | คริสตศักราช | |
คริสต์ศาสนา | คริสตศาสนา | ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา |
คริสต์ศาสนิกชน | คริสตศาสนิกชน | |
คริสต์มาส | คริสตมาส | |
ครุฑ | ครุท | |
ครุภัณฑ์ | คุรุภัณฑ์ | |
ครุศาสตร์ | คุรุศาสตร์ | |
คฤหาสน์ | คฤหาสถ์ | คฤห + อาสน |
คลิก | คลิ้ก, คลิ๊ก | |
คลินิก | คลีนิก, คลินิค | |
ค้อน | ฆ้อน | |
คะ | ค๊ะ | |
คะนอง | คนอง | |
คัดสรร | คัดสรรค์ | |
คาร์ป | คาร์ฟ, คราฟ, คาร์พ, คราพ | ชื่อปลา ทับศัพท์มาจาก carp |
คารวะ | เคารวะ | |
คำนวณ | คำนวน | |
คำสดุดี | คำดุษฎี | |
คุกกี้ | คุ้กกี้, คุ๊กกี้ | ออกเสียง คุก โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ |
คุรุศึกษา | ครุศึกษา | |
เค้ก | เค็ก, เค๊ก | |
เครียด | เคลียด | |
เครื่องราง | เครื่องลาง | |
แค็ตตาล็อก | แคตตาล็อก, แคตาล็อก | |
แคบหมู | แค็บ-, แคป-, แค็ป- | |
แคระแกร็น | แคะแกน, แคะแกรน, แคระแกน, แคระแกรน | ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช) |
โค่ง | โข่ง | โข่ง = เปิ่น ไม่เข้าท่า / โค่ง = โตกว่าเพื่อน |
โคตร | โครต, โคต, โคด | |
โครงการ | โครงการณ์ | การ คือ งาน |
โควตา | โควต้า | ออกเสียง คว ควบกล้ำ และออกเสียง ต้า โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ |
คอลัมน์ | คอลัมม์ |
ฅ
ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ "ฅ" โดยหันไปใช้ "ค" แทน เช่น "ฅอ" ก็ใช้เป็น "คอ" เป็นต้น
ฆ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ฆราวาส | ฆรวาส, ฆารวาส, -วาท | |
ฆาตกร | ฆาตรกร | ฆาต แปลว่า ฆ่า, ทำลาย หรือ ตี |
ฆาตกรรม | ฆาตรกรรม | ฆาต แปลว่า ฆ่า, ทำลาย หรือ ตี |
เฆี่ยน | เคี่ยน | - "เฆี่ยน" = ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ เป็นต้น - "เคี่ยน" ไม่มีความหมาย |
ง
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
งบดุล | งบดุลย์ | ไม่ใช่ ดุลย์ |
งูสวัด | งูสวัส, งูสวัสดิ์ |
จ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
จงกรม | จงกลม | การฝึกสมาธิ |
จระเข้ | จรเข้ | เครื่องดนตรีไทย เรียก จะเข้; ชื่อสถานที่บางแห่งยังสะกดว่า จรเข้ อยู่เช่น คลองจรเข้บัว ตำบลจรเข้สามพัน ตำบลจรเข้ร้อง |
จลนศาสตร์ | จลศาสตร์ | |
จลาจล | จราจล | มาจากคำ จล + อจล |
จะงอย | จงอย | |
จะจะ | จะ ๆ | คำมูลสองพยางค์ |
จะละเม็ด | จาละเม็ด, จาระเม็ด, จรเม็ด, จระเม็ด | |
จักจั่น | จั๊กจั่น | |
จักร | จักร์ | |
จักรพรรดิ | จักรพรรดิ์ | อ่านว่า "จัก-กฺระ-พัด" |
จักรวรรดิ | จักรวรรดิ์ | อ่านว่า "จัก-กฺระ-หวัด" |
จักสาน | จักรสาน | เครื่องใช้ที่ทำด้วยมือ |
จาระไน | จารไน | |
จาระบี | จารบี | |
จำนง | จำนงค์ | แผลงจาก "จง" |
จินตนาการ | จินตะนาการ, จินตรนาการ | |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย | ปัจจุบันใช้แบบมีทัณฑฆาตตามที่ได้รับพระราชทาน (ขัดหลักคำสมาส) |
เจตจำนง | เจตจำนงค์ | จำนง แผลงจาก จง |
เจตนารมณ์ | เจตนารมย์ | |
เจียระไน | เจียรไน | |
โจทก์ | โจทย์ | โจทก์ หมายถึง ผู้ฟ้องร้องในศาลกล่าวหาจำเลย โจทย์ หมายถึง ปัญหา เช่น โจทย์เลข |
ใจ | จัย |
ฉ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ฉบับ | ฉะบับ | |
ฉะนั้น | ฉนั้น | |
ฉะนี้ | ฉนี้ | |
ฉัน | ฉันท์ | เสมือน เช่น ฉันญาติ ฉันมิตร; รับประทาน ใช้กับพระสงฆ์ |
ฉันท์ | ฉัน | ความพอใจ หรือร้อยกรองประเภทหนึ่งมีบังคับครุลหุ |
เฉพาะ | ฉะเพาะ, ฉเพาะ | |
ไฉน | ฉไน |
ช
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ชมพู | ชมภู | |
ชมพู่ | ชมภู่ | |
ชะนี | ชนี | |
ชะมด | ชมด | |
ชะลอ | ชลอ | |
ชัชวาล | ชัชวาลย์ | |
ชีพิตักษัย | ชีพตักษัย | |
ชีวประวัติ | ชีวะประวัติ | สมาสแล้วลบวิสรรชนีย์ |
ซ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ซวดเซ | ทรวดเซ | |
ซ่องเสพ | ส้องเสพ | |
ซาบซ่าน | ทราบซ่าน, -ส้าน | |
ซาบซึ้ง | ทราบซึ้ง | |
ซาลาเปา | ซาละเปา, ซะละเปา | |
ซาวเสียง | ซาวด์เสียง, ซาวน์เสียง, ซาวนด์เสียง | หยั่งเสียงเพื่อฟังความคิดเห็น |
ซีเมนต์ | ซีเม็นต์, ซีเมนท์, ซีเม็นท์, ซีเม็น | |
ซุ่ม | สุ่ม, สุ้ม | ซุ่ม = ซ่อน, แอบซ่อนคอยทีอยู่ / สุ่ม = เครื่องมือจับปลา, เครื่องสานครอบขังไก่, ไม่เฉพาะเจาะจง |
ซุ้ม | สุ้ม | สิ่งที่เป็นพุ่มมีทางลอดได้, ส่วนบนของประตูหน้าต่าง |
เซ็นชื่อ | เซ็นต์ชื่อ | จากคำอังกฤษ sign, ไม่มี ต การันต์ |
เซนติเมตร | เซ็นติเมตร | |
ไซ้ | ไซร้ | ไซ้ = กิริยาที่นกหรือเป็ดเอาปากยํ้า ๆ ขนหรือหาอาหาร ฯลฯ, เช่น เป็ดไซ้ขน ไซร้ = คําสําหรับเน้นความหมายของคําหน้า, เช่น ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัด |
โซม | โทรม | โซม = เปียกทั่ว, เช่น เหงื่อโซมตัว โทรม = เสื่อมสภาพ, ระดมฟันแทง, ร่วมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง ฯลฯ |
ฌ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ฌาน | ฌาณ | |
ฌาปนกิจ | ฌาปณกิจ | |
เฌอ | กะเฌอ |
ญ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ญวน | ญวณ | |
ญัตติ | ญัติ | |
ญาณ | ญาน | |
ญาติ | ญาต |
ฎ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ฎีกา | ฏีกา | ใช้ ฎ ชฎา ตัวอักษรที่คล้ายกันทำให้เกิดความสับสน |
ฏ
ปัจจุบันไม่มีคำที่ขึ้นต้นด้วย "ฏ"
ฐ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ฐาน | ฐาณ |
ฑ
ไม่มีคำที่เขียนผิด
ฒ
ไม่มีคำที่เขียนผิด สำหรับ "เฒ่าแก่" และ "เถ้าแก่" ใช้ได้ทั้งสองคำ
ณ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ณ | ณ. | อ่านว่า "นะ" มีความหมายว่า ที่ ในการเขียน ไม่มีจุดข้างหลังเพราะมิใช่คำย่อ แต่ "ณ" แผลงรูปมาจาก "ใน" และมักเว้นวรรคหน้าวรรคหลัง "ณ" ด้วย เช่น "อยู่ ณ ที่นี้" |
ด
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ดอกจัน | ดอกจันท์, ดอกจันทน์, ดอกจันทร์ | เครื่องหมาย *, ดอกของต้นจัน |
ดอกจันทน์ | ดอกจัน, ดอกจันท์, ดอกจันทร์ | รกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ |
ดอกไม้จันทน์ | ดอกไม้จัน, ดอกไม้จันท์, ดอกไม้จันทร์ | ดอกไม้ประดิษฐ์สำหรับงานเผาศพ |
ดัตช์ | ดัชต์, ดัชท์, ดัทช์ | |
ดาดตะกั่ว | ดาษตะกั่ว | |
ดาดฟ้า | ดาษฟ้า | |
ดาษดื่น | ดาดดื่น | |
ดำรง | ดำรงค์ | |
ดำริ | ดำหริ, ดำริห์ | อ่านว่า "ดำ-หริ", โบราณเขียน "ดำริห์" |
ดุล | ดุลย์ | "ดุล" เป็นคำนามแปลว่า ความเท่ากัน หรือความเสมอกัน, ส่วน "ดุลย์" เป็นคำวิเศษณ์แปลว่า เท่ากัน หรือเสมอกัน |
ดุษณี | โดยดุษฎี | ดุษณี หมายถึง นิ่ง ดุษฎี หมายถึง ยินดี มักใช้สลับกัน เช่น ในถ้อยคำว่า "ยอมรับโดยดุษณี" |
เดินเหิน | เดินเหิร | โบราณเขียน "เหิร" |
แดก | แดรก, แด่ก, แดร่ก, แด๊ก | เป็นภาษาปาก หมายถึง กิน หรือ พูดกระทบให้โกรธ ฯลฯ |
ต
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ตรรกศาสตร์ | ตรรกะศาสตร์ | |
ตรรกะ, ตรรก- | ตรรกกะ | |
ตราสัง | ตราสังข์ | |
ตรึงตรา | ตรึงตา | หมายถึง ติดแน่น |
ตะกร้า | ตระกร้า | |
ตะราง | ตาราง | ที่คุมขัง |
ตานขโมย | ตาลขโมย | |
ตาราง | ตะราง | ช่องสี่เหลี่ยม |
ตำรับ | ตำหรับ | |
ใต้ | ไต้ | ใช้แสดงตำแหน่ง เช่น ใต้โต๊ะ ภาคใต้ แสงใต้ (ออโรรา) |
ใต้เท้า | ไต้เท้า | เปรียบเหมือนเราอยู่ข้างใต้ เท้าของผู้มีอำนาจบารมี ทำนองเดียวกับ ใต้ฝ่าพระบาท ฯลฯ |
ไต้ | ใต้ | หมายถึงคบเพลิง เช่น ขี้ไต้ จุดไต้ตำตอ น้ำตาแสงไต้ หรือใช้ทับศัพท์ภาษาอื่น |
ไต้ก๋ง | ใต้ก๋ง | นายท้ายเรือสำเภาหรือเรือประมง ทับศัพท์จากภาษาจีน |
ไต้ฝุ่น | ใต้ฝุ่น | ทับศัพท์มาจาก typhoon |
ไตรยางศ์ | ไตรยางค์ | |
ไต้หวัน | ใต้หวัน | ทับศัพท์จากภาษาจีน |
ถ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ถนนลาดยาง | ถนนราดยาง | ลาด หมายถึง ปู |
ถ่วงดุล | ถ่วงดุลย์ | |
ถั่วพู | ถั่วพลู | ถั่วที่ด้านข้างมีรอยเป็นพู |
เถา | เถาว์ | |
ไถ่ตัว | ถ่ายตัว | เรียกค่าไถ่ ก็ใช้คำนี้ |
ท
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ทโมน | ทะโมน, โทมน | |
ทยอย | ทะยอย | |
ทแยง | ทะแยง, แทยง | |
ทรงกลด | ทรงกรด | |
ทรมาทรกรรม | ทรมานทรกรรม | |
ทรราช | ทรราชย์ | - ทรราช = ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจสร้างความเดือดร้อน, ตามรากศัพท์หมายถึง ราชาชั่ว แต่สามารถใช้ได้กับทั้งที่เป็นราชาและไม่เป็นราชา - ทรราชย์ = รูปแบบ ระบบ หรือลัทธิการปกครองแบบทรราช |
ทระนง, ทะนง | ทรนง, ทนง | |
ทลาย | ทะลาย | พังทลาย ถล่มทลาย |
ทศกัณฐ์ | ทศกัณฑ์ | กัณฑ์ แปลว่า คำเทศน์ตอนหนึ่ง; กัณฐ์ แปลว่า คอ |
ทอนซิล | ทอมซิน | |
ทะนุถนอม | ทนุถนอม | |
ทะนุบำรุง, ทำนุบำรุง | ทนุบำรุง | |
ทะลาย | ทลาย | ช่อผลของมะพร้าว |
ทะเลสาบ | ทะเลสาป | |
ทัณฑ์ | ฑัณฑ์ | |
ทายาด | ทายาท | ทายาด = ยิ่งยวด เช่น ทนทายาด ทายาท = ผู้สืบสกุล |
ทายาท | ทายาด, ทาญาติ | |
ทารุณ | ทารุน | |
ทีฆายุโก | ฑีฆายุโก | ทีฆายุ หมายถึง อายุยืนยาว |
ทุกรกิริยา | ทุกขกิริยา, ทุกขรกิริยา | หมายถึง กิจที่ทำได้ยาก |
ทุคติ | ทุกข์คติ | |
ทุพพลภาพ | ทุพลภาพ | |
ทุพภิกขภัย | ทุภิกขภัย | ทุส + ภิกขภัย, เปลี่ยน ส เป็น พ ตามหลักการสมาส |
ทุศีล | ทุจศีล | |
ทูต | ฑูต | ทูตทุกอย่าง ใช้ ท ทหาร |
ทูนหัว | ทูลหัว | พ่อทูนหัว แม่ทูนหัว |
ทูลกระหม่อม | ทูนกระหม่อม | |
เท่ | เท่ห์ | |
เทพนม | เทพพนม | เทวะ + นมะ ไม่ใช่ เทพ + พนม |
เทเวศร์ | เทเวศ, เทเวศน์ | เทว + อิศร์ |
เทอญ | เทิญ | |
เทอม | เทิม, เทิร์ม | |
เท้าความ | ท้าวความ | เขียนเหมือน "เท้า" |
เทิด | เทอด | |
เทิดทูน | เทิดทูล | |
แท็กซี่ | แท๊กซี่ | |
แทรกแซง | แซกแซง | |
โทรทรรศน์ | โทรทัศน์ | กล้องส่องทางไกล |
โทรทัศน์ | โทรทรรศน์ | เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง |
โทรม | โซม | โทรม = เสื่อมสภาพ, ระดมฟันแทง, ร่วมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง ฯลฯ โซม = เปียกทั่ว, เช่น เหงื่อโซมตัว |
โทรศัพท์ | โทรศัพย์ |
ธ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ธนบัตร | ธนาบัตร | |
ธนาณัติ | ธนานัติ, ธนาณัต | |
ธรรมเนียม | ทำเนียม | ในหนังสือเก่า ๆ เขียน "ทำเนียม" ก็มี, แต่ปัจจุบัน ใช้ "ธรรมเนียม" (มาจาก ธรรม + นิยม) |
ธัญพืช | ธัญญพืช | |
ธำมรงค์ | ธำมรง, ทำมะรงค์ | แปลว่า "แหวน" |
ธำรง | ธำรงค์ | |
ธุรกิจ | ธุระกิจ | คำสมาส หรือใช้ กิจธุระ |
น
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
นพปฎล | นพปดล | แปลว่า เก้าชั้น |
นภดล | นพดล | เว้นแต่ "นพดล" ที่เป็นชื่อเฉพาะ |
นวัตกรรม | นวตกรรม | |
นอต | น็อต, น๊อต | ทับศัพท์จาก nut ในภาษาอังกฤษที่หมายถึงอุปกรณ์ช่าง |
นะ | น๊ะ | ออกเสียงวรรณยุกต์ตรี โดยไม่ปรากฏรูป |
นะคะ | นะค่ะ, นะค๊ะ | คะ เป็นเสียงตรี ไม่ต้องใช้ไม้ตรี ในขณะที่ ค่ะ เป็นเสียงโท |
นันทนาการ | สันทนาการ | |
นัย | นัยยะ | อ่านได้ทั้ง ไน และ ไน-ยะ |
นัยน์ตา | นัยตา | |
น่า | หน้า | คำประกอบหน้ากริยา หมายความว่า ควร เช่น น่าจะทำอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้; ชวนให้, ทำให้อยากจะ, เช่น น่ากิน น่ารัก |
นาฏกรรม | นาฎกรรม | ใช้ ฏ ปฏัก |
นาที | นาฑี | นาฑี เป็นภาษาสันสกฤต พบบ้างในหนังสือเก่า ปัจจุบันพจนานุกรมให้สะกดแบบเดียวเท่านั้น |
นานัปการ | นานับประการ | |
นานา | นา ๆ | คำมูลสองพยางค์ |
น้ำจัณฑ์ | น้ำจัน | |
น้ำมันก๊าด | น้ำมันก๊าซ, -ก๊าส | |
น้ำแข็งไส | น้ำแข็งใส | หมายถึงการนำน้ำแข็งไปไสบนกบ จนได้เกล็ดน้ำแข็ง เป็นวิธีทำแบบดั้งเดิม |
นิจศีล | นิจสิน | |
นิเทศ | นิเทศน์, นิเทส | |
นิมิต | นิมิตร, นิรมิตร | |
นิเวศวิทยา | นิเวศน์วิทยา | |
เนรมิต | เนรมิตร | |
เนืองนิตย์ | เนืองนิจ | |
แน่นหนา | หนาแน่น | - "แน่นหนา" ว่า มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา มีหลักฐานมัดตัวแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่างแน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา. - "หนาแน่น" ว่า คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก. |
โน้ต | โน๊ต, โน้ท, โน๊ท | อักษรต่ำ ไม่ใส่ไม้ตรี |
บ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
บรรทัด | บันทัด | |
บรรทุก | บันทุก | |
บรรลุ | บันลุ | |
บรรเลง | บันเลง | |
บรั่นดี | บะหรั่นดี | |
บริสุทธิ์ | บริสุทธ, บริสุทธิ | |
บล็อก | บล็อค, บล๊อก | หลักการทับศัพท์ |
บ่วงบาศ | บ่วงบาศก์, บ่วงบาต, บ่วงบาท | |
บอระเพ็ด | บรเพ็ด, บอระเพชร | |
บังสุกุล | บังสกุล | |
บังเอิญ | บังเอิน | |
บัญญัติไตรยางศ์ | บัญญัติไตรยางค์ | เหมือน ไตรยางศ์ |
บัตรสนเท่ห์ | บัตรสนเท่ | |
บันดาล | บรรดาล | |
บันได | บรรได | |
บันเทิง | บรรเทิง | |
บันลือ | บรรลือ | |
บางลำพู | บางลำภู | |
บาดทะยัก | บาททะยัก, บาดทยัก | |
บาตร | บาต | เครื่องใช้อย่างหนึ่งของพระสงฆ์ |
บาทบงสุ์ | บาทบงส์ | อ่านว่า บาด-ทะ-บง |
บาทหลวง | บาดหลวง | |
บำเหน็จ | บำเน็จ | |
บิณฑบาต | บิณฑบาตร, บิณฑบาท | |
บิดพลิ้ว | บิดพริ้ว | |
บุคคล | บุคล | |
บุคลากร | บุคคลากร | |
บุคลิกภาพ | บุคคลิกภาพ | |
บุปผชาติ | บุปผาชาติ | |
บุษราคัม | บุษราคำ | |
บูชายัญ | บูชายัน, บูชายันต์ | |
บูรณปฏิสังขรณ์ | บูรณะปฏิสังขรณ์ | คำสมาส |
เบญจเพส | เบญจเพศ | เพส มาจากคำว่า วีสะ=20 เบญจ =5, เบญจเพส = 25 |
เบนซิน | เบ็นซิน, เบนซิล | |
เบรก | เบรค | ศัพท์บัญญัติ หรือใช้คำว่า ห้ามล้อ |
ป
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ปฏิกิริยา | ปฏิกริยา | |
ปฏิสันถาร | ปฏิสัณฐาน, ปฏิสันถาน | |
ปฏิทิน | ปติทิน | |
ปฏิพัทธ์ | ประติพัทธ์ | |
ปฏิสังขรณ์ | ปฏิสังขร | |
ปฐมนิเทศ | ปฐมนิเทศก์, ปฐมนิเทศน์ | |
ปณิธาน, ประณิธาน | ปนิธาน, ประนิธาน | ตั้งใจไว้ |
ปรนนิบัติ | ปรณนิบัติ | |
ปรมาณู | ปรมณู | ปรม + อณู |
ปรองดอง | ปองดอง | |
ประกายพรึก | ประกายพฤกษ์ | |
ประกาศนียบัตร | ประกาศณียบัตร | |
ประกาศิต | ประกาษิต | |
ประจัญ | ประจัน | • ประจัญ = ปะทะต่อสู้ (เช่น ประจัญบาน = รบอย่างตะลุมบอน), แผลงมาจากคำเขมรว่า "ผจัญ" (ผฺจาญ่) • ประจัน = กั้นเป็นส่วนสัด (เช่น ฝาประจันห้อง = ฝากั้นห้อง), เผชิญ (เช่น ประจันหน้ากัน), ฯลฯ |
ประจัญบาน | ประจันบาน, ประจันบาล, ประจัญบาล | |
ประจันหน้า | ประจัญหน้า | |
ประจันห้อง | ประจัญห้อง | |
ประจำการ | ประจำการณ์ | |
ประณต | ประนต | (กริยา) น้อมไหว้ |
ประณม | ประนม | (อาการนาม) การน้อมไหว้ |
ประณาม | ประนาม | |
ประณีต | ปราณีต, ประนีต | |
ประดิดประดอย | ประดิษฐ์ประดอย | |
ประนีประนอม | ประณี-, ปรานี-, ปราณี-, -ประณอม, -ปรานอม, -ปราณอม | |
ประมาณ | ประมาน | |
ประเมิน | ประเมิณ | |
ประสบการณ์ | ประสพการณ์ | • "ประสบ" เป็นคำกริยาแปลว่าพบหรือพบปะ • ส่วน "ประสพ" เป็นคำนามมีความหมายว่าการเกิดผล • ในภาษาไทยจึงใช้ "ประสบ" เพียงรูปเดียว เช่น ประสบความสำเร็จ ประสบการณ์ ประสบอุทกภัย ประสบโชค |
ประสบผลสำเร็จ, ประสบความสำเร็จ | ประสพผลสำเร็จ, ประสพความสำเร็จ | |
ประสูติ | ประสูต, ประสูตร | |
ประสูติการ | ประสูติกาล | การคลอด เช่น มีพระประสูติการ |
ประสูติกาล | ประสูติการ | เวลาคลอด เช่น พระประสูติกาลตก ณ วัน 4 ขึ้น 1 เดือน 6 ย่ำรุ่ง 2 นาฬิกา เศษสังขยา 5 บาท |
ประหลาด | ปะหลาด, ปลาด | |
ประหัตประหาร | ประหัดประหาร, ประหัตถ์ประหาร | |
ประหาณ, ปหาน | ประหาร | • ประหาณ, ปหาน = ละทิ้ง เช่น สมุจเฉทประหาณ (การตัดขาดและการละทิ้ง), ปหานกิเลส (ละทิ้งกิเลส) • ประหาร = ตี ฟัน ทำลาย หรือ ฆ่า เช่น ประหารชีวิต |
ประหาร, ปหาร | ประหาณ, -หาน, ปะ- | |
ปรัมปรา | ปรำปรา, ปะรำปะรา | อ่านว่า ปะ-รำ-ปะ-รา |
ปรัศนี | ปรัศนีย์ | |
ปรากฏ | ปรากฎ | ใช้ ฏ ปฏัก |
ปราณี | ปรานี | • ปราณี = ผู้มีลมปราณ หมายความว่า ผู้มีชีวิต หรือสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ และคน • ปรานี = เอ็นดูด้วยความสงสาร |
ปรานี | ปราณี | |
ปรานีปราศรัย | ปราณีปราศัย | |
ปรารถนา | ปราถนา | อ่านว่า "ปราด-ถะ-หนา" |
ปราศจาก | ปราศจาค | |
ปราศรัย | ปราศัย | |
ปล้นสะดม | ปล้นสดมภ์ | • สะดม = รมยาให้หลับ • สดมภ์ = เสาหรือช่องตามแนวตั้ง |
ปวารณา | ปวารนา | |
ปะทะ | ประทะ | |
ปะแล่ม | ปแล่ม, แปล่ม | |
ปักษิน | ปักษิณ | |
ปาฏิหาริย์ | ปาฏิหาร, ปาฏิหารย์ | |
ปาติโมกข์ | ปาฏิโมกข์ | |
ปาริชาต | ปาริชาติ | ชื่อบุคคลจำนวนมากยังใช้ ปาริชาติ อยู่ |
ปิกนิก | ปิคนิค | คำทับศัพท์ |
ปุโรหิต | ปุโลหิต | |
เปอร์เซ็นต์ | เปอร์เซนต์ | คำทับศัพท์ |
เป๋อเหลอ | เป๋อเล๋อ | อักษรต่ำ ไม่ใช้วรรณยุกต์จัตวา |
ผ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ผดุง | ผะดุง | |
ผรุสวาท | ผรุสวาส | |
ผลลัพธ์ | ผลลัพท์ | |
ผล็อย | ผลอย | |
ผลัดเปลี่ยน | ผัดเปลี่ยน | |
ผลัดผ้า | ผัดผ้า | |
ผลัดเวร | ผัดเวร | |
ผลานิสงส์ | ผลานิสงฆ์ | |
ผอบ | ผะอบ | |
ผัดไทย | ผัดไท | |
ผัดผ่อน | ผลัดผ่อน | |
ผัดวันประกันพรุ่ง | ผลัดวันประกันพรุ่ง | |
ผัดหนี้ | ผลัดหนี้ | |
ผาสุก | ผาสุข | ชื่อบุคคลและสถานที่จำนวนมากยังใช้ ผาสุข อยู่ |
ผีซ้ำด้ำพลอย | ผีซ้ำด้ามพลอย | ด้ำ เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ผีเรือน |
ผุดลุกผุดนั่ง | ผลุดลุกผลุดนั่ง | |
ผูกพัน | ผูกพันธ์ | |
ผู้เยาว์ | ผู้เยา | |
เผชิญ | ผเชิญ, ผะเชิญ | |
เผลอไผล | เผอไผ | |
เผอเรอ | เผลอเรอ | |
เผอิญ | ผเอิญ, ผะเอิญ | |
เผ่าพันธุ์ | เผ่าพัน | |
แผ่ซ่าน | แผ่ส้าน, แผ่ซ้าน | |
แผนการ | แผนการณ์ | |
แผลงฤทธิ์ | แผงฤทธิ์ | |
ไผท | ผไท, ผะไท |
ฝ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ฝรั่งเศส | ฝรั่งเศษ | |
ฝักฝ่าย | ฝักใฝ่, ฝักไฝ่ | พวก, ข้าง |
ฝักใฝ่ | ฝักฝ่าย, ฝักไฝ่ | เอาใจใส่, ผูกพัน |
ฝากครรภ์ | ฝากครร | |
ฝีดาษ | ฝีดาด | ไข้ทรพิษ |
ฝึกปรือ | ฝึกปือ, ฝึกปลือ | |
ไฝ | ใฝ | คำนอกกฎการใช้ไม้ม้วน |
พ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
พงศ์พันธุ์ | พงพันธุ์, พงษ์พันธุ์ | |
พจนานุกรม | พจณานุกรม | พจน + อนุกรม |
ฯพณฯ | พณฯ, ฯพณ, พณ | อ่านว่า "พะ-นะ-ท่าน" |
พยัก | พะยัก | |
พยักพเยิด | พะยักพะเยิด, พยักเพยิด | |
พยัคฆ์ | พยัค, พยัฆ | เสือ |
พยาน | พะยาน | |
พยาบาท | พญาบาท, พยาบาตร | |
พยุง | พะยุง | |
พเยีย | พะเยีย, เพยีย | พวงดอกไม้ |
พรรณนา | พรรณา | อ่านว่า พัน-นะ-นา |
พรหมจรรย์ | พรมจรรย์ | |
พราหมณ์ | พราห์มณ์, พรามณ์ | อ่านว่า พฺราม |
พร่ำพลอด | พร่ำพรอด | |
พฤศจิกายน | พฤษจิกายน | |
พฤษภาคม | พฤศภาคม | |
พลการ | พละการ | คำสมาส |
พลศึกษา | พละศึกษา | คำสมาส |
พละกำลัง | พลกำลัง | |
พลาสติก | พลาสติค | |
พหูสูต | พหูสูตร | |
พะแนง | พแนง, แพนง | |
พะยอม | พยอม | ชื่อต้นไม้ มีดอกสีขาว |
พะยูน | พยูน | |
พะวักพะวน | พวักพวน | |
พังทลาย | พังทะลาย | |
พันทาง | พันธุ์ทาง | ลูกผสมต่างสายพันธุ์ |
พันธกิจ | พันธะกิจ | คำสมาส |
พันธสัญญา | พันธะสัญญา | คำสมาส |
พัศดี | พัสดี | |
พัสดุ | พัศดุ | |
พากย์ | พากษ์ | พากย์หนัง |
พาณิชย์, พาณิชย,พณิชย์ พาณิช, พณิช | พานิชย์, พานิชย, พนิชย์ พานิช, พนิช | ใช้ ณ เสมอ รวมถึงรูปศัพท์เดิมก่อนแผลง ว เป็น พ เช่น วาณิชย์ วาณิชกะ วณิชย์ วณิชยา วาณิช วณิช พาณิชย์ พาณิชย หรือ พณิชย์ แปลว่าการค้า พาณิชหรือพณิชหมายถึงพ่อค้า ยกเว้นวิสามานยนามบางคำ เช่น ไทยวัฒนาพานิช, กรุงไทยพานิชประกันภัย, ศุภชัย พานิชภักดิ์, วิจารณ์ พานิช และ ชิน โสภณพนิช |
พานจะเป็นลม | พาลจะเป็นลม | |
พาหุรัด | พาหุรัต, พาหุรัตน์ | |
พิณพาทย์ | พิณภาทย์ | |
พิธีรีตอง | พิธีรีตรอง | |
พิบูล | พิบูลย์ | |
พิพิธภัณฑ์ | พิพิทธภัณฑ์ | |
พิราบ | พิราป | นกชนิดหนึ่ง |
พิลาป | พิราป | คร่ำครวญ, ร้องไห้ เช่น รำพันพิลาป |
พิศวง | พิสวง | |
พิศวาส | พิสวาส, พิสวาท | |
พิสดาร | พิศดาร | |
พิสมัย | พิศมัย | |
พึมพำ | พึมพัม | |
พุดตาน | พุดตาล | ดอกไม้ชนิดหนึ่ง |
พุทธชาด | พุทธชาติ | ดอกไม้ชนิดหนึ่ง |
พู่กัน | ภู่กัน | |
พู่ระหง | ภู่ระหง | |
เพชฌฆาต | เพชรฆาต, เพ็ชรฆาต | |
เพชร | เพ็ชร | |
เพศสัมพันธ์ | เพศสัมพันธุ์ | |
เพนียด | พเนียด, พะเนียด | |
เพริศพริ้ง | เพริดพริ้ง | |
เพิ่มพูน | เพิ่มพูล | |
เพียบพร้อม | เพรียบพร้อม | |
แพทยศาสตร์ | แพทย์ศาสตร์ | |
โพชฌงค์ | โพชงค์ | |
โพดำ | โพธิ์ดำ | |
โพแดง | โพธิ์แดง | |
โพทะเล | โพธิ์ทะเล | |
โพนทะนา | โพนทนา | |
โพระดก | โพรดก | |
โพสพ | โพศพ | |
ไพฑูรย์ | ไพทูรย์ |
ฟ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ฟังก์ชัน | ฟังก์ชั่น | ไม่มีไม้เอก |
ฟั่น | ฝั้น | เช่น ฟั่นเชือก ฟั่นเทียน |
ฟันคุด | ฟันครุฑ, ฟันครุท | คุด หมายถึง งอกงออยู่ภายในไม่โผล่ออกมาตามปรกติ ครุฑเป็นสัตว์ในตำนานอินเดีย |
ฟาทอม | ฟาธอม, แฟทอม, แฟธอม | หน่วยวัดระยะทาง |
ฟิล์ม | ฟิลม์, ฟลิม, ฟิมล์, ฟิม์ล | |
ฟิวส์ | ฟิว | |
ฟุตบอล | ฟุทบอล | |
ฟุลสแก๊ป | ฟูลสแกป | หน้ากระดาษที่มีเส้นบรรทัด |
เฟิน | เฟิร์น | ถ้านำไปเขียนคำทับศัพท์อาจอนุโลมใช้ เฟิร์น ได้ |
แฟชั่น | แฟชัน | มีไม้เอก |
ไฟแช็ก | ไฟแชค, ไฟแช็ค |
ภ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ภคินี | ภคิณี | |
ภวังค์ | พวังศ์ | |
ภัณฑารักษ์ | พันธารักษ์ | |
ภาคทัณฑ์ | ภาคฑัณฑ์ | |
ภาคภูมิ | ภาคภูม | |
ภาพยนตร์ | ภาพยนต์ | |
ภารกิจ | ภาระกิจ | คำสมาส |
ภาวการณ์ | ภาวะการณ์, ภาวะการ | คำสมาส |
ภาววิสัย | ภาวะวิสัย | "ภาววิสัย" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "objective" บางทีใช้ "ปรนัย" (ปะระไน), "ปรวิสัย" (ปะระวิสัย) หรือ "วัตถุวิสัย" หมายความว่า "ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ โดยไม่เกี่ยวกับความคิดหรือความรู้สึก" |
ภุชงค์ | พุชงค์ | |
ภูตผี | ภูติผี | ภูต แปลว่า ผี; ภูติ แปลว่า ความรุ่งเรือง |
ภูมิใจ | ภูมใจ | |
ภูมิลำเนา | ภูมลำเนา | อ่านว่า พูม-ลำ-เนา หรือ พู-มิ-ลำ-เนา ก็ได้ |
เภตรา | เพตรา |
ม
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
มกุฎ | มกุฏ | ใช้ ฎ ชฎา เช่น มกุฎราชกุมาร มกุฎราชกุมารี ยกเว้น มหามกุฏราชวิทยาลัย และ มกุฏกษัตริยาราม ที่ใช้ ฏ ปฏัก |
มงกุฎ | มงกุฏ | ใช้ ฎ ชฎา |
มณฑป | มนฑป, มณทป | อ่านว่า มน-ดบ |
มนเทียร | มนเฑียร, มณเฑียร | |
มนุษยสัมพันธ์ | มนุษย์สัมพันธ์ | คำสมาส |
มรณภาพ | มรณะภาพ | |
มฤตยู | มฤตญู | |
มลทิน | มนทิน | |
มลังเมลือง | มะลังมะเลือง | |
มหรรณพ | มหรรนพ, มหันนพ | |
มหรสพ | มหรศพ | อ่านว่า มะ-หอ-ระ-สบ |
มหัศจรรย์ | มหรรศจรรย์ | |
มหาหิงคุ์ | มหาหิงค์ | |
มเหสักข์ | มเหศักดิ์ | |
มเหสี | มเหศรี, มเหศี, มเหษี, เมหสี | |
มไหศวรรย์ | มไหสวรรค์ | |
ม่อห้อม, ม่อฮ่อม, หม้อห้อม | หม้อฮ่อม | |
มะหะหมัด | มหะหมัด, มะหะมัด | |
มัคคุเทศก์ | มัคคุเทศ, มัคคุเทศน์ | |
มัคนายก, มรรคนายก | มัคทายก, มรรคทายก | (บาลี) มคฺค + นายก (สันสกฤต) มารฺค + นายก หมายถึง ผู้นำทาง ได้แก่ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด |
มัณฑนศิลป์ | มันทนศิลป์, มันฑณศิลป์ | |
มัธยัสถ์ | มัธยัสต์ | |
มัศยา, มัตสยา | มัสยา | ปลา |
มัสตาร์ด | มัสตาด | |
มัสมั่น | มัสหมั่น | อ่านว่า มัด-สะ-หมั่น |
มาตรการ | มาตราการ | ระวังการใช้ในบริบท มาตรา-การ |
มาตรฐาน | มาตราฐาน | ระวังการใช้ในบริบท มาตรา-ฐาน |
มานุษยวิทยา | มนุษยวิทยา | มานุษย = ที่เกี่ยวกับมนุษย์ |
ม่าเหมี่ยว | มะเหมี่ยว | ด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง, ชมพู่ผลสีแดงเข้ม |
มึง | เมิง | |
มืดมน | มืดมนต์, มืดมล | |
มุกตลก | มุขตลก | ราชบัณฑิตยสถานสะกดว่า มุก ในขณะที่พจนานุกรมฉบับมติชนสะกดว่า มุข |
แมงมุม | แมลงมุม | |
แมลงดา | แมงดา | เฉพาะแมลง(มี 6 ขา) ส่วนแมงดาจะใช้กับแมงดาทะเล (มี 12 ขา) |
แมลงภู่ | แมลงพู่, แมงภู่ | ทั้งชื่อแมลงและหอย |
แมลงวัน | แมงวัน | |
แมลงสาบ | แมลงสาป, แมงสาบ, แมงสาป | |
ไมยราบ | ไมยราพ | ชื่อพืชชนิดหนึ่ง |
ไมยราพณ์, มัยราพณ์ | ไมยราพ | ตัวละครในรามเกียรติ์ |
ไมล์ | ไมร์, ไมค์ | หน่วยวัดระยะทาง |
ย
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ยศถาบรรดาศักดิ์ | ยศฐาบรรดาศักดิ์ | |
ย่อมเยา | ย่อมเยาว์ | ราคาย่อมเยา |
ยาเกร็ด | ยาเกล็ด | หมายถึง ตำรา |
ยานัตถุ์ | ยานัตถ์, ยานัด | นัตถุ์ แปลว่า จมูก |
ยีราฟ | จีราฟ | |
เยอรมนี, เยอรมัน | เยอรมันนี | |
เยาว์วัย | เยาวัย | |
เยื่อใย | เยื่อไย | คำซ้อน เยื่อ + ใย |
ใยแมงมุม | ไยแมงมุม | |
ไย | ใย | หมายถึงไฉน, อะไร, ทำไม |
ไยดี | ใยดี | |
ไยไพ | ใยไพ | หมายถึงเยาะเย้ย, พูดให้อาย |
โยธวาทิต | โยธวาฑิต |
ร
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
รกชัฏ | รกชัฎ | ใช้ ฏ ปฏัก |
รณรงค์ | รนรงค์ | |
รถยนต์ | รถยนตร์ | |
รมณีย์ | รมนีย์, รมณี | |
รสชาติ | รสชาด | |
ร้องไห้ | ร้องให้ | |
ระบบนิเวศ | ระบบนิเวศน์ | |
ระเบงเซ็งแซ่ | ระเบ็งเซ็งแซ่ | |
ระเห็จ | รเห็จ, เรห็จ | |
รักษาการ | รักษาการณ์ | ปฏิบัติหน้าที่แทน เช่น รักษาการในตำแหน่ง... |
รักษาการณ์ | รักษาการ | เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น ยามรักษาการณ์ |
รังเกียจ | รังเกลียด, รังเกียด | |
รังควาน | รังควาญ | |
รังสี | รังษี, รังศี | ยกเว้นชื่อเฉพาะ |
รัชดาภิเษก | รัชฎาภิเษก | คำสนธิ รชต (เงิน) + อภิเษก (แต่งตั้ง); รัชฎาภิเษกเป็นรูปคำโบราณ |
รัญจวน | รัญจวญ, รัญจวณ | |
รัฐวิสาหกิจ | รัฐวิสาหะกิจ | |
รัศมี | รัสมี, รัษมี | |
รากเหง้า | รากเง่า | เง่า หมายถึงโง่เง่า |
ราชภัฏ | ราชภัฎ | ใช้ ฏ ปฏัก |
ราชัน | ราชันย์ | "ราชัน" หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน, "ราชันย์" หมายถึง เชื้อสายของพระเจ้าแผ่นดิน |
ราชวงศ์ | ราชวงค์ | |
ราดหน้า | ลาดหน้า | |
ราพณาสูร | ราพนาสูร | |
ราศี | ราศรี | รากศัพท์ต่างกัน ราศี มาจาก ราสิ, ศรี มาจาก สิริ |
รำคาญ | รำคราญ, รำคาน | |
ริบบิ้น | ริ้บบิ้น | ออกเสียง ริบ โดยไม่มีรูปวรรณยุกต์ |
รื่นรมย์ | รื่นรมณ์ | |
เรี่ยไร | เรี่ยราย | เรี่ยราย = เกลื่อนกลาด |
แร็กเกต | แร็กเก็ต | |
โรงธารคำนัล | โรงธารกำนัล | หมายถึง ท้องพระโรง |
โรมันคาทอลิก | โรมันคาธอลิค |
ฤ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ฤกษ์พานาที | ฤกษ์ผานาที | สองคำที่สับสน คือ "ฤกษ์พานาที" กับ "เลขผานาที" |
ฤทธิ์ | ฤทธ, ฤทธ์ | |
ฤๅ | ฤา | ใช้ลากข้างยาว |
ฤๅษี, ฤษี | ฤาษี | ใช้ลากข้างยาว |
ล
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ลดาวัลย์ | ลัดดาวัลย์, ลดาวัณย์ | ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง ยกเว้นชื่อเฉพาะ |
ลมปราณ | ลมปราน | |
ลมหวน | ลมหวล | |
ล็อกเกต | ล็อกเก็ต | |
ลองไน | ลองใน | ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง |
ละคร | ละคอน | "ละคอน" เป็นคำไทยโบราณ ใช้เมื่อต้องการรักษาความดั้งเดิมไว้ เช่น สาขาศิลปะและการละคอน |
ละเมียดละไม | ลเมียดลไม | |
ละโมบ | ลโมบ,ละโมภ | |
ละเอียดลออ | ลเอียดลออ, ละเอียดละออ | |
ลักเพศ | ลักเพท, ลักเพส | |
ลังถึง | รังถึง | |
ลาดตระเวน | ลาดตระเวณ | มักสับสนกับ "บริเวณ" |
ลาดยาง | ราดยาง | เรียกถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทรายเป็นต้นว่า "ถนนลาดยาง" |
ลายเซ็น | ลายเซ็นต์ | |
ลาวัณย์ | ลาวัลย์ | หมายถึง ความงาม ความน่ารัก |
ลำไย | ลำใย | คำนอกกฎการใช้ไม้ม้วน |
ลำไส้ | ลำใส้ | คำนอกกฎการใช้ไม้ม้วน |
ลิงก์ | ลิงค์ | ลิงก์ = คำภาษาอังกฤษ link; ลิงค์ = เครื่องหมายเพศ, ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่าคํานั้น เป็นเพศอะไร |
ลิดรอน | ริดรอน | |
ลิปสติก | ลิปสติค | |
ลิฟต์ | ลิปต์, ลิฟ, ลิฟท์ | มาจากคำภาษาอังกฤษ lift |
ลือชา | ฦๅชา | ฦ ฦๅ ไม่มีที่ใช้ในปัจจุบัน |
ลุกลี้ลุกลน | ลุกลี้ลุกรน | |
ลูกเกด | ลูกเกตุ | |
ลูกนิมิต | ลูกนิมิตร | |
ลูกบาศก์ | ลูกบาศ | |
เล่นพิเรนทร์ | เล่นพิเรนท์ | |
เลย | เรย | |
เล่ห์กระเท่ห์ | เล่กระเท่ | |
เลือกสรร | เลือกสรรค์ | |
เลือดกบปาก | เลือดกลบปาก | |
โล่ | โล่ห์ | มิได้แผลงมาจาก "โลหะ" |
โลกาภิวัตน์ | โลกาภิวัฒน์ | |
ไล่เลียง | ไล่เรียง, ไร่เรียง, ไร่เลียง | ซักไซ้ ไต่ถาม มักใช้ว่า ซักไซ้ไล่เลียง |
ฦ
ปัจจุบันคำที่ขึ้นต้นด้วย ฦ ฦๅ ไม่นิยมใช้
ว
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
วงศ์, วงษ์ | วงค์ | วงษ์ เป็นการสะกดแบบโบราณ |
วงศ์วาน | วงษ์วาน | เช่น ชื่อถนน งามวงศ์วาน |
วัคซีน | วักซีน | |
วัณโรค | วันโรค, วรรณโรค | |
วันทยหัตถ์ | วันทยาหัตถ์ | |
วันทยาวุธ | วันทยวุธ | |
วางก้าม | วางกล้าม | วางโต |
วาทกรรม | วาทะกรรม | สมาสแล้วไม่มีสระอะ |
วาทิต | วาฑิต | วาทิต หมายความว่า ดนตรี หรือผู้บรรเลงดนตรี |
วายชนม์ | วายชน | |
วารดิถี | วาระดิถี | สมาสแล้วไม่มีสระอะ |
วาฬ | วาล | |
วิ่งเปี้ยว | วิ่งเปรี้ยว | |
วิ่งผลัด | วิ่งผัด | |
วิตถาร | วิตถาน, วิตถาล | |
วิตามิน | วิตตามิน, วิตะมิน | |
วินาที | วินาฑี | |
วินาศกรรม | วินาศะกรรม | |
วิหารคด | วิหารคต | |
วิญญาณ | วิญญาน | |
เวท | เวทย์ | เวท เป็นนาม แปลว่า ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์สำหรับเสกเป่า ฯลฯ เวทย์ เป็นวิเศษณ์ แปลว่า ควรรู้ |
เวทมนตร์ | เวทย์มนตร์, เวทมนต์ | |
เวนคืน | เวรคืน | |
เวียดนาม | เวียตนาม | |
ไวยากรณ์ | ไวยกรณ์ |
ศ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ศรัทธา, สัทธา | ศัทธา | นิยมใช้ "ศรัทธา" มากกว่า |
ศศิธร | สสิธร, ศศิทร | ศศิธร หมายถึง ดวงจันทร์ |
ศักย์ | ศักดิ์ | ศักย์ ที่หมายถึง ศักย์ไฟฟ้า ศักยภาพ ใช้ ย แต่ ศักดิ์ที่กล่าวถึง ศักดินา ใช้ ด |
ศัตรู | สัตรู, ศตรู | |
ศัพท์ | ศัพย์ | |
-ศาสตรดุษฎีบัณฑิต | -ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต | ปริญญาเอก เช่น รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
-ศาสตรบัณฑิต | -ศาสตร์บัณฑิต | ปริญญาตรี เช่น เศรษฐศาสตรบัณฑิต |
-ศาสตรมหาบัณฑิต | -ศาสตร์มหาบัณฑิต | ปริญญาโท เช่น นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
ศิลป์, ศิลปะ | ศิลป | ใช้เป็นศัพท์โดด |
ศิลปกรรม | ศิลปะกรรม | คำสมาส |
ศิลปวัฒนธรรม | ศิลปะวัฒนธรรม | หากต้องการแยกคำควรใช้ "ศิลปะและวัฒนธรรม" |
ศิลปวัตถุ | ศิลปะวัตถุ | คำสมาส |
ศีรษะ | ศรีษะ | |
ศึกษานิเทศก์ | ศึกษานิเทศ, ศึกษานิเทศน์ | |
โศกนาฏกรรม | โศกะนาฏกรรม, โศกนาฎกรรม | ใช้ ฏ ปฏัก |
โศกศัลย์ | โสกศัลย์, โศกสันต์ | |
โศกเศร้า | โสกเศร้า | |
ไศล | ไสล, ศไล | หมายถึง เขาหิน |
ส
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
สกัด | สะกัด | |
สกาว | สะกาว | |
สแกน | แสกน | |
สดับ | สะดับ | |
สถานการณ์ | สถานการ, สถานะการณ์ | |
สถิต | สถิตย์ | ยกเว้น "สถิตยศาสตร์" |
สนนราคา | สงวนราคา | "สนนราคา" หมายถึง ราคา ; "สงวนราคา" หมายถึง รักษาระดับราคาไว้ |
สบง | สะบง | |
สบาย | สะบาย | |
สบู่ | สะบู่ | |
สไบ | สะไบ, ไสบ | |
สเปน | เสปน, สเปญ | |
สภาวการณ์, สภาพการณ์ | สภาวะการณ์ | |
สมดุล | สมดุลย์ | |
สมเพช | สมเพท, สมเพศ, สมเพส | |
สรรเพชญ | สรรเพชร | |
สรรแสร้ง | สรรค์แสร้ง | |
สรรหา | สรรค์หา | สรรค์ หมายถึง สร้าง, ทำให้เกิดขึ้น |
สรวงสวรรค์ | สวงสวรรค์ | |
สร้างสรรค์ | สร้างสรร | |
สวรรคต | สวรรณคต, สวรรค์คต | |
สอบเชาวน์ | สอบเชาว์ | |
สะกด | สกด | |
สะกิด | สกิด | |
สะคราญ | สคราญ | |
สะดวก | สดวก | |
สะพรึงกลัว | สะพึงกลัว | |
สะพาน | สพาน | |
สะเหล่อ | สะเหร่อ, เสร่อ, เสล่อ | |
สะอาด | สอาด | |
สักการบูชา | สักการะบูชา | คำสมาส |
สังเกต | สังเกตุ | |
สังเขป | สังเขบ | |
สังวร | สังวรณ์ | |
สังวาล | สังวาลย์ | ยกเว้นชื่อเฉพาะ "สังวาลย์" |
สังสรรค์ | สังสรร | |
สัญลักษณ์ | สัญลักษ์, สัญญลักษณ์ | |
สัณฐาน | สันฐาน, สันฐาณ, สัณฐาณ | รูปพรรณสัณฐาน |
สันโดษ | สัญโดษ | |
สันนิษฐาน | สันนิฐาน, -ฐาณ | |
สับปลับ | สัปลับ | |
สับปะรด | สัปรด, สัปปะรด, สับปะรส | มิได้แผลงมาจาก สรรพรส |
สัปเหร่อ | สัพเหร่อ, สัปปะเหร่อ | |
สัพยอก | สรรพยอก | |
สัมภาษณ์ | สัมภาษ, สัมภาสน์ | |
สัมมนา | สัมนา, สำมะนา | |
สาทร | สาธร | ชื่อถนนสายหนึ่ง และเขตการปกครองในกรุงเทพมหานคร |
สาธารณชน | สาธารณะชน | คำสมาส ระวังการใช้ในบริบท สาธารณะ-ชน |
สาธารณประโยชน์ | สาธารณะประโยชน์ | คำสมาส |
สาธารณสถาน | สาธารณะสถาน | คำสมาส |
สาธารณสมบัติ | สาธารณะสมบัติ | คำสมาส |
สาธารณสุข | สาธารณะสุข | คำสมาส |
สาบสูญ | สาปสูญ | |
สาบาน | สาบาญ | |
สาปแช่ง | สาบแช่ง | |
สาปสรร | สาบสรร | |
สามเส้า | สามเศร้า | เส้า หมายถึง ไม้หลักหรือวัตถุที่ตั้งหรือปักเป็นสามมุมสำหรับรองรับ |
สายสิญจน์ | สายสิญจ์ | |
สารประโยชน์ | สาระประโยชน์ | คำสมาส |
สารภี | สาระพี, สารพี | ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ดอกสีขาวกลิ่นหอม, มิได้หมายถึง เครื่องครัว |
สาระสำคัญ | สารสำคัญ | มิใช่คำสมาส |
สารัตถประโยชน์ | สารัตถะประโยชน์ | คำสมาส |
สารัตถะสำคัญ | สารัตถสำคัญ | มิใช่คำสมาส |
สำอาง | สำอางค์ | เครื่องสำอาง |
สิงโต | สิงห์โต | หรือใช้เพียงคำว่า สิงห์ |
สิทธิ, สิทธิ์ | สิทธ, สิทธ์ | |
สีสวาด | สีสวาท, สีสวาส | แมวสีสวาด |
สีสัน | สีสรร, สีสรรค์ | |
สุกียากี้ | สุกี้ยากี้ | สามารถเรียกสั้น ๆ ว่า สุกี้ |
สุคติ | สุขคติ | |
สุญญากาศ | สูญญากาศ | ใช้สระ "อุ" |
สูจิบัตร | สูติบัตร | ใบแจ้งกำหนดการ |
สูติบัตร | สูจิบัตร | เอกสารหลักฐานการเกิด |
เสบียง | สะเบียง, สเบียง | |
เสพ | เสพย์ | ปัจจุบันพจนานุกรมให้สะกดแบบเดียวเท่านั้น เช่น เสพสุรา เสพยา เสพเมถุน เสพสม เสพติด (สารเสพติด สิ่งเสพติด ยาเสพติด) |
เสิร์ฟ | เสริฟ, เสริฟ์ | มาจาก serve ไม่ใช่อักษรควบกล้ำ |
เสื้อกาวน์ | เสื้อกาว, เสื้อกาวด์ | มาจาก gown |
เสื้อเชิ้ต | เสื้อเชิ๊ต | |
แสตมป์ | สแตมป์ | คำที่ปรากฏในพจนานุกรมไทย |
โสฬส | โสรส | อ่านว่า "โส-ลด" |
ไส้ | ใส้ |
ห
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
หกคะเมน | หกคเมน, หกคะเมร | |
หงส์ | หงษ์ | |
หน็อยแน่ | หนอยแน่ | |
หนาแน่น | แน่นหนา | - "หนาแน่น" ว่า คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก. - "แน่นหนา" ว่า มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา มีหลักฐานมัดตัวแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่างแน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา. |
หน้าปัดนาฬิกา | หน้าปัทม์นาฬิกา | |
หม้อห้อม, ม่อห้อม,ม่อฮ่อม | หม้อฮ่อม | |
หมาใน | หมาไน | |
หมามุ่ย, หมามุ้ย | หมาหมุ้ย | |
หมูหย็อง | หมูหยอง | ของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวด นำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย, รวมถึงที่ทำจากวัตถุดิบอื่นด้วย เช่น ไก่หยอง ฯลฯ |
หยากไย่, หยักไย่ | หยากใย่, หยักใย่ | |
หย่าร้าง | อย่าร้าง | |
หยิบหย่ง | หยิบย่ง, หยิบโย่ง | |
ห่วงใย | ห่วงไย | คำที่ใช้ไม้ม้วน |
หัวมังกุท้ายมังกร | หัวมงกุฎท้ายมังกร | (สำนวน) ไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน (มังกุคือเรือที่มีกระดูกงูใหญ่) |
หัวหน่าว | หัวเหน่า | |
เหม็นสาบ | เหม็นสาป | |
เหล็กใน | เหล็กไน | ให้จำว่า เหล็กอยู่ข้างใน |
เหลือบ่ากว่าแรง | เหนือบ่ากว่าแรง | (สำนวน) เกินความสามารถ |
เหิน | เหิร | |
แหลกลาญ | แหลกราญ, แหลกราน | |
โหยหวน | โหยหวล | |
โหระพา | โหรพา, โหระภา | |
ใหลตาย | ไหลตาย | ใหล หมายถึงหลับใหล (ดู ราชบัณฑิตยสถาน) |
ไหม | มั๊ย, ไม๊ | อักษรต่ำเติมไม้ตรีไม่ได้ อาจอนุโลมใช้ มั้ย ตามเสียงพูด แผลงมาจาก "หรือไม่" |
ไหหลำ | ใหหลำ | ทับศัพท์จากภาษาจีน |
ฬ
ปัจจุบันไม่มีคำที่ขึ้นต้นด้วย "ฬ" คำโบราณที่ขึ้นต้นด้วย "ฬ" หันไปใช้ "ล" แทน เช่น "ฬา" ก็ใช้เป็น "ลา", "ฬ่อ" ก็ใช้เป็น "ล่อ" เป็นต้น
อ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
องคชาต | องคชาติ | |
องคุลิมาล | องคุลีมาล, องคุลีมาร, องคุลิมาร | องคุลี (นิ้วมือ) + มาล (สร้อยคอ, สาย หรือ แถว) = องคุลิมาล (สร้อยคอที่ทำจากนิ้วมือ) โดยที่ ลี ใน องคุลี ลดเป็น ลิ เสียงสั้นตามหลักการสมาส |
อธิษฐาน, อธิฏฐาน | อธิฐาน, -ฐาณ | |
อนาถ | อนาจ | |
อนาทร | อนาธร | |
อนุกาชาด | อนุกาชาติ | |
อนุญาต | อนุญาติ | ญาติ เขียนมีสระ อิ |
อนุมัติ | อนุมัต | |
อนุรักษนิยม | อนุรักษ์นิยม | คำสมาส |
อนุสาวรีย์ | อนุเสาวรีย์, อณุสาวรีย์ | |
อเนก | เอนก | มาจาก อน+เอก ตัวอย่างเช่น อเนกประสงค์ อเนกประการ อเนกอนันต์ เว้นแต่วิสามานยนามเช่น เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เอนก นาวิกมูล |
อเนจอนาถ | อเนถอนาถ | |
อภิรมย์ | อภิรมณ์ | |
อภิเษก | อภิเสก | |
อมต, อมตะ | อัมตะ, อำมตะ | |
อมรินทร์ | อัมรินทร์ | ยกเว้นชื่อเฉพาะ "อัมรินทร์" |
อมฤต, อำมฤต | อัมฤต | |
อริยเมตไตรย | อริยเมตตรัย, อริยเมตไตร | |
อริยสัจ | อริยสัจจ์ | |
อลักเอลื่อ | อะหลักอะเหลื่อ | |
อลังการ | อลังการ์ | อ่านว่า อะ-ลัง-กาน |
อวสาน | อวสาณ, อวสานต์ | |
อสงไขย | อสงขัย | |
อหังการ์ | อหังการ | อ่านว่า อะ-หัง-กา |
อหิวาตกโรค | อะหิวาตกโรค | |
ออฟฟิศ | อ็อฟ-, -ฟิซ, -ฟิส, -ฟิต | คำที่ปรากฏในพจนานุกรมไทย หรือใช้คำว่า สำนักงาน, ที่ทำการ |
อะลุ่มอล่วย, อะลุ้มอล่วย | อะลุ่มอะล่วย, อลุ่มอล่วย | |
อะฟลาทอกซิน | อัลฟาทอกซิน | ทับศัพท์จาก aflatoxin |
อะไหล่ | อะหลั่ย | |
อักขรวิธี | อักขระวิธี | สมาสแล้วตัดสระอะ |
อักษร | อักศร, อักสร | |
อัญชัน | อัญชัญ | |
อัฒจันทร์ | อัธจันทร์ | |
อัตคัด | อัตคัต | |
อัตนัย | อัตตะนัย | "อัตนัย" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "subjective" บางทีใช้ "อัตวิสัย" หรือ "จิตวิสัย" หมายความว่า "ที่มีอยู่ในจิต, ที่เกี่ยวกับจิต; ที่จิตคิดขึ้นเองโดยไม่อาศัยวัตถุภายนอก" |
อัธยาศัย | อัทยาศัย, อัธยาษัย | |
อัมพาต | อัมพาส | |
อากาศ | อากาส | |
อาฆาตมาดร้าย | อาฆาตมาตร้าย | |
อาเจียน | อาเจียร | |
อานิสงส์ | อานิสงฆ์ | |
อาเพศ | อาเพส, อาเภส | |
อายัด | อายัติ, อายัต | |
อารมณ์ | อารมย์ | |
อาวรณ์ | อาวร | |
อาสน์สงฆ์ | อาสสงฆ์ | |
อำนาจบาตรใหญ่ | อำนาจบาทใหญ่ | |
อำมหิต | อัมหิต | |
อินทรธนู | อินธนู, อินทร์ธนู | |
อินทรี (นกอินทรี, ปลาอินทรี) | อินทรีย์ (นกอินทรีย์, ปลาอินทรีย์) | |
อินทรียวัตถุ | อินทรีวัตถุ, อินทรีย์วัตถุ | |
อินฟราเรด | อินฟาเรด, อินฟาร์เรด | ทับศัพท์จาก infrared |
อิริยาบถ | อิริยาบท | |
อิสรภาพ | อิสระภาพ | คำสมาส |
อิสรเสรี | อิสระเสรี | คำสมาส |
อีเมล | อีเมล์ | ทับศัพท์จาก e-mail |
อีสาน | อิสาน, -สาณ | |
อุกกาบาต | อุกาบาต | |
อุกฤษฏ์ | อุกฤติ | |
อุดมการณ์ | อุดมการ | |
อุทธรณ์ | อุธรณ์ | |
อุทาหรณ์ | อุธาหรณ์, อุทาหร | |
อุบาทว์ | อุบาท | |
อุปการคุณ | อุปการะคุณ | คำสมาส |
อุปถัมภ์ | อุปถัมธ์, อุปถัมน์ | |
อุปโลกน์ | อุปโลก | |
อุปัชฌาย์ | อุปัชฌา, อุปัชชา | |
อุปาทาน | อุปทาน | - อุปาทาน = การยึดมั่นถือมั่น, การนึกเอาเอง เช่น อุปาทานหมู่ - อุปทาน (เศรษฐศาสตร์) = สินค้าหรือบริการที่พร้อมจะขายในตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการซื้อ |
อุโมงค์ | อุโมง | |
เอกเขนก | เอกขเนก | |
เอกฉันท์ | เอกฉัน, เอกะฉันท์ | |
เอ็นดอร์ฟิน | เอ็นโดรฟิน | ทับศัพท์จาก endorphine |
โอกาส | โอกาศ | |
ไอศกรีม | ไอศครีม, ไอติม |
ฮ
คำที่เขียนถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
---|---|---|
ฮ่อยจ๊อ | หอยจ๊อ, ห้อยจ๊อ, -จ้อ | |
เฮโลสาระพา, เฮละโลสาระพา | เฮโลโหระพา, เฮละโลโหระพา |
เนื้อหา: | บนสุด - 0-9 ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ฦ ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ |
---|
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 18 (แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2551. ISBN 978-974-349-384-3
- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ทุก พ.ศ.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น